ดาวน์โหลด การจำแนกตัวชี้วัดตามหลักสูตรแกน กลางฯ ด้านทักษะการคิดขั้นสูง และแนวทางการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ ด้านการคิด โดย สำนักการศึกษากรุงเทพมหานคร

การจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียนของการศึกษาในประเทศไทย ส่วนใหญ่เน้นเนื้อหาความรู้ภาคทฤษฎีและการท่องจำ เมื่อมีการประเมินที่นอกเหนือจากความรู้ภาคทฤษฎีและการท่องจำ ทำให้มีผลการประเมินภาพรวมค่อนข้างต่ำ และไม่ผ่านเกณฑ์การประเมินในบางประเด็น ดังนั้นการจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียน ควรปรับเปลี่ยนกระบวนการโดยเน้นให้นักเรียนคิดวิเคราะห์และศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง รวมถึงจัดการเรียนการสอนเพื่อให้เกิดการพัฒนาทักษะการคิดขั้นสูงมากขึ้น
สำนักการศึกษาจึงได้จัดทำเอกสารเผยแพร่เกี่ยวกับการวัดประเมินผลเรื่อง การจำแนกตัวชี้วัดตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 และมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดฯ (ฉบับปรับปรุงพ.ศ. 2560) ด้านทักษะการคิดขั้นสูงเล่มนี้ขึ้น ซึ่งผ่านการพิจารณาตัวชี้วัดเพื่อพัฒนาทักษะการคิดของนักเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานคร เพื่อให้สถานศึกษามีกรอบแนวทางในการวางแผนการจัดการเรียนการสอนเป็นไปในทิศทางเดียวกัน โดยนำตัวชี้วัดฯ ที่ผ่านการพิจารมากลั่นกรองคุณลักษณะด้านทักษะการคิดขั้นสูงไปใช้จัดการเรียนการสอนในชั้นเรียน ส่งเสริมให้นักเรียนมีทักษะ การคิดวิเคราะห์ คิดสังเคราะห์ คิดสร้างสรรค์ และคิดอย่างมีวิจารณญาณ รวมถึงสามารถนำไปประยกต์ใช้ในชีวิตได้อย่างเหมาะสม
สำนักการศึกษาหวังเป็นอย่างยิ่งว่าการพิจารณากลั่นกรองคุณลักษณะด้านทักษะการคิดขั้นสูงของตัวชี้วัดทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ จะช่วยอำนวยความสะดวก และเป็นประโยชน์สำหรับผู้บริหาร ครูผู้สอน ศึกษานิเทศก์
นักวิชาการศึกษา หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และผู้ที่สนใจ นำไปประยุกต์ใช้ใช้ในการพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนของโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานครให้มีคุณภาพสูงขึ้นต่อไป
กระบวนการจัดการเรียนการสอน ที่มุ่งให้นักเรียนได้เชื่อมโยงประสบการณ์ Project-based ด้วยการลงมือ เน้นประสบการณ์ในการ Learning ชีวิตจริงสู่การเรียนรู้ ค้นหาคำตอบปฏิบัติงานให้แก่นักเรียนเหมือนกับการ
การเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานทำงานในชีวิตจริงอย่างเป็นระบบ เพื่อเปิดโอกาสให้นักเรียนได้มีประสบการณ์ตรง
เรียนรู้วิธีการแก้ปัญหา ทำการทดลองพิสูจน์สิ่งต่างๆผ่านการวางแผนการทำงานเป็นทีม และการคิดอย่างเป็นระบบ
นักเรียนสามารถ เข้าใจแนวคิดและความรู้พื้นฐานซึ่งเป็นหัวใจสำคัญในการทำโครงงานการเรียนรู้ด้วย
Project-based Learning ช่วยเสริมสร้างนักเรียน ให้เกิดทักษะการเรียนรู้นักเรียน สามารถใช้เทคโนโลยี และสามารถนำเสนองานให้กับผู้ฟัง นอกเหนือจากในห้องเรียน นักเรียนสามารถเรียนรู้ทักษะในศตวรรษที่ 21 ไม่ว่าจะเป็นความร่วมมือการสื่อสาร การมีวิธีคิดเชิงวิพากษ์ จากการเรียนรู้ปัญหาชุมชน สำรวจอาชีพที่ตนเองสนใจ มีปฏิสัมพันธ์กับผู้ใหญ่
ที่ให้คำแนะนำการทำโครงงานช่วยสร้างทักษะและนิสัยรักการเรียนรู้สามารถกระตุ้นนักเรียนให้ใส่ใจการเรียน
กระบวนการจัดการเรียนรู้ Active Learning เป็นวิธีการจัดการเรียนการสอนที่ Problem-based ใช้ปัญหาเป็นตัวกระตุ้น
Learning หรือเป็นบริบทให้ผู้เรียนได้คิดวิเคราะห์การจัดการเรียนรู้แก้ปัญหา และบูรณาการความรู้ที่โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เหมาะสม สามารถนำไปสู่ผลการเรียนรู้ที่พึงประสงค์ มีคุณสมบัติที่นำมาใช้จัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนานักเรียน ดังนี้
เน้นนักเรียนเป็นสำคัญเน้นการแสวงหาความรู้ใช้ปัญหา เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ เน้นการบูรณาการความรู้
ส่งเสริมให้นักเรียนกำกับตนเองในการเรียนรู้เน้นให้นักเรียนพัฒนาทักษะการคิดการเรียนรู้ด้วย Problem-based Learning ช่วยเสริมสร้างผู้เรียน ให้เกิดทักษะการเรียนรู้
1] เพิ่มแรงจูงใจในการเรียนรู้
2] พัฒนาการคิดอย่างมีวิจารณญาณ การเขียน การสื่อสาร
3] ช่วยให้การจำข้อมูลต่าง ๆ ได้ดี
4] ช่วยให้นักเรียนรู้จักการปรับตัว รับฟังความคิดเห็นเพื่อช่วยให้เรียนรู้และทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ดี
5] ส่งเสริมให้นักเรียนเป็นผู้รับผิดชอบต่อการเรียนรู้ของตนเอง
6] เสริมสร้างการเรียนรู้ตลอดชีวิตเน้นการเรียนรู้ร่วมกัน เน้นให้นักเรียนควบคุมและประเมิน กระบวนการเรียนรู้
ทักษะการคิดขั้นสูง
ทิศนา แขมมณี และคณะ (2543) อธิบายทักษะการคิดขั้นสูง หรือทักษะการคิดที่ชับช้อน (higher order or more complexed thinking skills) สรุปได้ว่า ทักษะการคิดขั้นสูง เป็นทักษะที่มีขั้นตอนหลากหลาย และต้อง
อาศัยทักษะพื้นฐานหลาย ๆ ทักษะการคิดขั้นสูง หมายถึง ทักษะการคิดที่มีความซับซ้อน มีกระบวนการ หรือขั้นตอนในการคิดมากและซับซ้อนขึ้นเพื่อให้ได้คำตอบ หรือบรรลุวัตถุประสงค์ที่ต้องการ การคิดขั้นสูง หมายถึง ความสามารถ
และความชำนาญในการดำเนินการชับชับช้อน เพื่อแสวงทาคำตอบ แก้ปัญหาต่างๆหรือบรรลุวัตถุประสงค์ที่ต้องการ
สรุปได้ว่า ทักษะการคิดขั้นสูง หมายถึง ความสามามารถและความชำนาญในการคิดที่มีกระบวนการหรือขั้นตอนที่ซับซ้อนและมีความหลากหลาย ต้องอาศัยทักษะพื้นฐานหลาย ๆ ทักษะ เพื่อแสวงหาคำตอบ แก้ปัญหาต่าต่าง ๆ หรือ
บรรลุวัตถุประสงค์ที่ต้องการ
สามารถดาวน์โหลด ไฟล์เอกสาร การจำแนกตัวชี้วัดตามหลักสูตรแกน กลางฯ ด้านทักษะการคิดขั้นสูง และแนวทางการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ ด้านการคิด ตามลิงก์ด้านล่างนี้ ได้เลยครับ
ตัวอย่างไฟล์เอกสาร

