เผยแพร่ แบบรายงานผลการปฏิบัติงาน ตามข้อตกลงในการพัฒนางาน สำหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู วิทยฐานะ ยังไม่มีวิทยฐานะ ไฟล์ Word แก้ไขได้ พร้อมหน้าปก ไฟล์เทมเพลต Canva แก้ไขได้ โดย คุณครูอาทิตย์ แซ่ลิ้ม

แบบรายงานผลการปฏิบัติงาน ตามข้อตกลงในการพัฒนางาน PA สำหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู วิทยฐานะ ยังไม่มีวิทยฐานะ
ส่วนที่ 1 ข้อตกลงในการพัฒนางานตามมาตรฐานตำแหน่ง
1. ภาระงาน จะมีภาระงานเป็นไปตามที่ก.ค.ศ. กำหนด
1.1 ชั่วโมงสอนตามตารางสอน รวมจำนวน…….25…..ชั่วโมง/สัปดาห์ดังนี้
– ชั่วโมงสอนตามตารางสอน ภาคเรียนที่ 1/2565 รวมจำนวน 25 คาบ/สัปดาห์
สามารถดาวน์โหลด ไฟล์เอกสาร การจำแนกตัวชี้วัดตามหลักสูตรแกน กลางฯ ด้านทักษะการคิดขั้นสูง และแนวทางการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ ด้านการคิด ตามลิงก์ด้านล่างนี้ ได้เลยครับ
1.2 งานส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ จำนวน…….3…..ชั่วโมง/สัปดาห์
– การสร้างและพัฒนาสื่อการเรียนการสอน จำนวน….2….ชั่วโมง/สัปดาห์
1.4 งานตอบสนองนโยบายและจุดเน้น จำนวน…….6……ชั่วโมง/สัปดาห์
– ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ จำนวน….4….ชั่วโมง/สัปดาห์
– กิจกรรมลูกเสือต้านภัยยาเสพติดระดับมัธยมศึกษา และกิจกรรมอื่นๆ ที่ได้รับมอบหมาย จำนวน….2….ชั่วโมง/สัปดาห์
2. ลักษณะงานที่ปฏิบัติตามมาตรฐานตำแหน่งครู ด้านที่ 1 ด้านการจัดการเรียนรู้ ลักษณะงานที่ข้าพเจ้าปฏิบัติและนำเสนอครอบคลุมถึง
การสร้างและหรือพัฒนาหลักสูตร การออกแบบการจัดการเรียนรู้ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ การสร้างและ
หรือพัฒนาสื่อ นวัตกรรม เทคโนโลยี และแหล่งเรียนรู้ การวัดและการประเมินผลการจัดการเรียนรู้ การศึกษา การวิเคราะห์ สังเคราะห์ เพื่อแก้ไขปัญหาหรือพัฒนาการเรียนรู้ การจัดบรรยากาศที่ส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียน และการอบรมและพัฒนาคุณลักษณะที่ดีของผู้เรียน
1.1 สร้างและพัฒนาหลักสูตร ข้าพเจ้านำหลักสูตรสถานศึกษา ออกแบบหน่วยการจัดการเรียนรู้ นำแผนการจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับบริบทของสถานศึกษาและผู้เรียน รายวิชาเทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) ไปใช้ในการปฏิบัติการสอนจริง ผ่านห้องเรียนออนไลน์ ด้วย Google Site
1.2 การออกแบบการจัดการเรียนรู้ ข้าพเจ้านำแผนการจัดการเรียนรู้รายวิชาเทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) มาจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยมีกิจกรรมที่ใช้ความรู้ ทักษะกระบวนการคิด คุณลักษณะอันพึงประสงค์ และสมรรถนะสำคัญตามหลักสูตร
จัดกิจกรรมการเรียนรู้ ข้าพเจ้าจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยรูปแบบห้องเรียนออนไลน์ ด้วย Google Site ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้พัฒนาเต็มศักยภาพ เรียนรู้การทำงานร่วมกัน เกิดทักษะด้านการใช้งานด้านอินเตอร์เน็ต รู้เท่าทันสื่อดิจิทัลและการรู้เท่าทันสื่อ
1.4 การสร้างและพัฒนาสื่อ นวัตกรรม ข้าพเจ้านำสื่อการเรียนรู้ จากเว็บไซต์ Code.org ,Youtube ,Interland ที่สอดคล้องกับกิจกรรมการเรียนรู้ ซึ่งทำให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ทั้งในห้องเรียน และที่บ้านของผู้เรียน
1.5 การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ ข้าพเจ้านำ google form ,kahoot มาสร้างรูปแบบการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ที่หลากหลายสอดคล้องกับผู้เรียน มีการวัดความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาด้วยแบบทดสอบก่อนเรียน-หลังเรียน และการวัดผลการเรียนปลายภาคเรียน ด้วย google form, Plickker และZipgrade มีการประเมินชิ้นงานและผลงาน ตามเกณฑ์การให้คะแนนแบบรูบริคที่ชัดเจน ภายในรูปแบบห้องเรียนออนไลน์ ด้วย Google Site
1.6 การศึกษา วิเคราะห์ สังเคราะห์ เพื่อแก้ปัญหาหรือพัฒนาการเรียนรู้ ข้าพเจ้าได้วิเคราะห์ผู้เรียนรายบุคคล นำข้อมูลมาการศึกษา วิเคราะห์และออกแบบวิธีการแก้ปัญหา นำไปใช้กับผู้เรียน และสรุปผลการแก้ปัญหาการเรียนรู้ของผู้เรียน ในรายวิชาวิทยาการคำนวณ ในรูปแบบออนไลน์ ผ่าน Google from และการสำรวจความพึงพอใจในรายวิชาที่ทำการเรียนการสอนผ่านระบบ Mentimeter
1.7 การจัดบรรยากาศที่ส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียน ข้าพเจ้าได้จัดบรรยากาศ สภาพแวดล้อมในชั้นเรียน โดยให้ความรู้นักเรียนเกี่ยวกับรายวิชาวิทยาการคำนวณ อุปกรณ์ด้านคอมพิวเตอร์ อินเตอร์เน็ต การตรวจสอบรายชื่อการมาเรียนของนักเรียน ผ่านแอพพลิเคชั่น Plickker
1.8 อบรมและพัฒนาคุณลักษณะที่ดีของผู้เรียน ข้าพเจ้าได้สร้างข้อตกลงการใช้งานห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ ในรูปแบบการประกาศผ่านห้องเรียนออนไลน์ ด้วย Google Site
ด้านที่ 2 ด้านการส่งเสริมและสนับสนุน ลักษณะงานที่เสนอให้ครอบคลุมถึงการจัดทำข้อมูลสารสนเทศของผู้เรียน และรายวิชา การดำเนินการตามระบบ ดูแลช่วยเหลือผู้เรียน การปฏิบัติงานวิชาการ และงานอื่น ๆ ของสถานศึกษา และการประสานความร่วมมือกับผู้ปกครอง ภาคีเครือข่าย และหรือสถานประกอบการ
2.1 จัดทำข้อมูลสารสนเทศของผู้เรียนและรายวิชา ข้าพเจ้านำจัดทำข้อมูลสารสนเทศของผู้เรียนรายบุคคลในประจำชั้นและทุกรายวิชาที่จัดการเรียนการสอน เพื่อใช้ในการส่งเสริมสนับสนุนการเรียนรู้ แก้ไขปัญหาและพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ผ่านรูปแบบห้องเรียนออนไลน์ ด้วย Google Site
2.2 ดำเนินการตามระบบดูแลช่วยเหลือผู้เรียน ข้าพเจ้าใช้สารสนเทศของผู้เรียนในระบบดูแลช่วยเหลือผู้เรียน จัดกิจกรรมเชิงสร้างสรรค์ด้วยวิธีการที่หลากหลาย ผ่านรูปแบบห้องเรียนออนไลน์ ด้วย Google Site,Messenger group และประสานความร่วมมือกับครูประจำชั้นผ่าน Line group เพื่อป้องกันและแก้ปัญหาผู้เรียนอย่างเป็นระบบ ในการจัดการเรียนการสอนรายวิชาวิทยาการคำนวณ
2.3 ปฏิบัติงานวิชาการ และงานอื่นๆ ของสถานศึกษา ข้าพเจ้าเข้าร่วมการประชุมวางแผนร่วมกับผู้บริหาร คณะครู เพื่อยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษา และการพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนของผู้เรียน
2. 4 ประสานความร่วมมือกับผู้ปกครอง ภาคีเครือข่าย และสถานประกอบการ ข้าพเจ้าประสานความร่วมมือกับผู้ปกครอง ผ่านการประชุมผู้ปกครอง และการเยี่ยมบ้าน และภาคีเครือข่าย ผ่านการทำกิจกรรมต่างๆ เพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหาและพัฒนาผู้เรียน
ด้านที่ 3 ด้านการพัฒนาตนเองและวิชาชีพ ลักษณะงานที่ข้าพเจ้าปฏิบัติและนำเสนอครอบคลุมถึงการพัฒนาตนเองอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง การมีส่วนร่วมในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้และนำความรู้ความสามารถ ทักษะที่ได้จากการพัฒนาตนเองและวิชาชีพมาใช้ใน การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ และพัฒนาเทคโนโลยี สื่อ นวัตกรรม การจัดการเรียนรู้
3.1 พัฒนาตนเองอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง ข้าพเจ้าเข้าร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวิชาชีพกับเพื่อนครู เพื่อแก้ไขปัญหาการเรียนรู้ของผู้เรียน
3.2 มีส่วนร่วมในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้ ข้าพเจ้าเข้าร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวิชาชีพกับเพื่อนครู เพื่อแก้ไขปัญหาการเรียนรู้ของผู้เรียน
3.3 นำความรู้ ความสามารถ ทักษะที่ได้จากการพัฒนาตนเองและวิชาชีพ มาใช้ในการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ ข้าพเจ้านำความรู้ ความสามารถ ทักษะที่ได้จากการพัฒนาตนเองและวิชาชีพมาใช้ในการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ การพัฒนาคุณภาพผู้เรียน และนำมาปรับประยุกต์สร้างรูปแบบห้องเรียนออนไลน์ ด้วย Google Site
ส่วนที่ 2 ข้อตกลงในการพัฒนางานที่เป็นประเด็นท้าทายในการพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน
ประเด็นท้าทาย เรื่อง การใช้รูปแบบห้องเรียนออนไลน์ ด้วย Google Site เชื่อมโยงเว็บ Interland เรื่อง การรู้เท่าทันสื่อ รายวิชาเทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
1. สภาพปัญหาการจัดการเรียนรู้และและคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน
ในการจัดการเรียนการสอนในห้องเรียนปฏิบัติการคอมพิวเตอร์พบว่า นักเรียนส่วนใหญ่จะนำเครื่องมือสื่อสารเข้ามาใช้ในห้องเรียน และมีการเข้าใช้งานอินเตอร์เน็ต เล่นเกมส์ และเข้าใช้สื่อสังคมออนไลน์ ทั้งโทรศัพท์มือถือ และเครื่องคอมพิวเตอร์ ทำให้นักเรียนอาจจะไม่รู้เท่าทันสื่อดิจิทัลและการรู้เท่าทันสื่อสมัยใหม่ได้ ส่งผลให้นักเรียนไปลอดภัยในการสื่อสาร การเข้าใช้งานผ่านสื่อต่างๆ ในปัจจุบัน จึงทำให้ครูผู้สอนนำรูปแบบห้องเรียนออนไลน์ ด้วย Google Site เชื่อมโยงเว็บ Interland เรื่อง การรู้เท่าทันสื่อ มาจัดการเรียนการสอนให้กับนักเรียน เพื่อให้ความรู้ในด้านการรู้เท่าทันสื่อดิจิทัล และการเข้าถึงสื่อ
2. วิธีการดําเนินการให้บรรลุผล
1. วิเคราะห์เนื้อหาและหลักสูตรวิชาที่สอน รายวิชาเทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) หน่วยที่ 2 เรื่อง ความน่าเชื่อถือของข้อมูล ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
2. จัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ รายวิชาเทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) เรื่อง การรู้เท่า ทันสื่อ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
3. สร้างห้องเรียนออนไลน์ ด้วย Google Site เชื่อมโยงเว็บ Interland เรื่อง การรู้เท่าทันสื่อ ซึ่งในห้องเรียนออนไลน์ จะประกอบไปด้วยข้อมูล ดังต่อไปนี้
– ไฟล์แผนการจัดการเรียนการสอนรายรายวิชาเทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) สำนักพิมพ์ อจท.
– ไฟล์แบบเช็คชื่อ เวลาเรียน นักเรียน google sheet
– แบบทดสอบก่อนเรียน ด้วย google from
– แจ้งกิจกรรมการเรียนรู้ สื่อ ใบความรู้ ใบงาน ใน Google Site
– แบบทดสอบหลังเรียน ด้วย google from
– สรุปคะแนนกิจกรรม และทดสอบปลายภาค ใน Google Site
3. ผลลัพธ์ที่คาดหวัง
3.1 เชิงปริมาณ
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ร้อยละ 80 เกิดทักษะด้านการใช้งานด้านอินเตอร์เน็ต รู้เท่าทันสื่อดิจิทัลและการรู้เท่าทันสื่อ รายวิชาวิทยาการคำนวณ ผ่านรูปแบบห้องเรียนออนไลน์ ด้วย Google Site เชื่อมโยงเว็บ Interland เรื่อง การรู้เท่าทันสื่อ
3.2 เชิงคุณภาพ
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ร้อยละ 80 มีความพึงพอใจในการจัดการเรียนการสอนรูปแบบห้องเรียนออนไลน์ ด้วย Google Site เชื่อมโยงเว็บ Interland เรื่อง การรู้เท่าทันสื่อ
สามารถดาวน์โหลด ไฟล์เอกสาร ตามลิงก์ด้านล่างนี้ ได้เลยครับ
ตัวอย่างไฟล์เอกสาร

