แบ่งปันไฟล์ โครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย 28 โครงการ วัฎจักรสืบเสาะ 6 ขั้นตอน ระดับชั้นอนุบาล – ชั้นประถมศึกษา โดย แบ่งปันไฟล์งาน โครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยฯ by Mr.Lucky

โครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยกับการจัดการศึกษาเพื่อความยั่งยืน
โครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ได้กำหนดขอบเขตการศึกษา เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (Education for Sustainable Development : ESD) โดยเชื่อมโยงและประยุกต์มิติการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ มาปรับให้เหมาะสมกับเด็กปฐมวัย ซึ่งดัดแปลงเป็นสามเหลี่ยมของการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development Triangle) ประกอบด้วยสามด้าน แต่ละด้านมีความสัมพันธ์กันและต้องรักษาสมดุลกัน ได้แก่ ด้านสังคม (Society) ด้านเศรษฐกิจ (Economy) และ ด้านสิ่งแวดล้อมหรือระบบนิเวศ (Environment/Ecology)
แนวคิดสำคัญในการจัดการการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ได้เปลี่ยนจากการจัดการศึกษาแบบเดิม คือ มนุษย์เป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ (Human Center) เน้นพัฒนาตัวเด็กให้เป็นคนเก่ง มีความสามารถ เปลี่ยนเป็นส่งเสริมและพัฒนาให้เด็กคำนึงว่า โลกเป็นศูนย์กลาง (Earth Center) ของการพัฒนาสิ่งต่าง ๆ ที่จะต้องพึ่งพาซึ่งกันและกัน ผู้เรียนเกิดความตระหนัก (Realize) ในประเด็นปัญหาต่าง ๆ เกี่ยวกับโลก นำไปสู่การลงมือ (Act) ร่วมจัดการกับปัญหา และเสริมศักยภาพ (Empowerment) ให้แก่ผู้เรียนจัดการกับปัญหา แม้ผู้เรียนจะเกิดความตระหนักรู้ถึงปัญหาต่าง ๆ เช่น ปัญหามลพิษ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ แต่ก็ไม่ได้ลงมือแก้ปัญหา หรือไม่รู้ว่าควรจะลงมือแก้ปัญหาอย่างไร ดังนั้นแนวทางการจัดการเรียนรู้ จะเน้นที่การลงมือ (Action) ในการจัดการกับปัญหาในชีวิต ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการพัฒนาอย่างยั่งยืนได้อย่างแท้จริง
แนวทางการจัดการเรียนการสอนด้านการศึกษา เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนในโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย

แนวคิดการส่งเสริมและพัฒนาเด็กตามแนวทางการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ต้องมีการบริหารจัดการที่รวมพลังขับเคลื่อนทุกภาคส่วนในสถานศึกษา ไม่ว่าจะเป็นผู้บริหารสถานศึกษา บทบาทในการกำหนดกรอบของการลงมือปฏิบัติอย่างยั่งยืน จึงควรมีการบริหารจัดการและกำหนดกระบวนการ แนวคิด และกลวิธีสอนให้สอดคล้องกับเป้าหมายของการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
สิ่งที่สำคัญและให้ความสำคัญมาก คือ การพัฒนาคุณสมบัติครูผู้สอนที่สะท้อนออกมาเป็นค่านิยมที่แสดงออกในภาคปฏิบัติ (Practiced values) ดังนั้นครู จะทำหน้าที่ทั้งเป็นผู้เอื้ออำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ของเด็ก (Facilitators) และเป็นต้นแบบ (Role models) ครูผู้สอนควรพัฒนาความเข้าใจในเป้าหมาย และการจัดการเรียนการสอนตามแนวทางการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ตลอดจนปฏิบัติตัวเป็นแบบอย่างที่ดีแก่เด็ก ๆ
สิ่งสำคัญในการจัดการเรียนการสอนเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน
ควรเริ่มต้นจากเรื่องเล็กๆ ใกล้ตัว
ควรส่งเสริมให้เด็กประมวลความรู้จากประสบการณ์และต่อเติมความรู้ใหม่
การจัดการเรียนรู้ที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม
ควรเน้นกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ด้วยตนเอง และใช้หลักการทางวิทยาศาสตร์เพื่อแก้ปัญหา
ควรใช้คำถามหรือการสนทนา เพื่อเชื่อมโยงกับแนวคิดการพัฒนาที่ยั่งยืนระหว่างดำเนินกิจกรรม
แนวทางการจัดการเรียนรู้
กระบวนการสืบเสาะ
ในทางวิทยาศาสตร์ การหาคำตอบให้กับคำถาม และการอธิบายปรากฏการณ์ต่างๆ ได้มาด้วยการค้นหาอย่างมีระบบและมีเป้าหมาย เด็ก ๆ ก็เช่นกัน พวกเขาสำรวจโลกของตัวเองอย่างมีระบบ มีการตั้งคำถามเป็นพื้นฐานและใช้เป็นจุดเริ่มต้นของคำถามและการสังเกตด้วยความสงสัยของพวกเขา ในทางหนึ่ง กระบวนการตั้งคำถามของเด็ก ๆ จะคล้ายคลึงกับนักวิจัย หรือนักวิทยาศาสตร์ เพียงแต่ว่าเด็กจะต่างจากผู้ใหญ่ในเรื่องของการตระหนักถึงพฤติกรรมของตัวเองและการดำเนินการอย่างเป็นระบบ

กระบวนการสืบเสาะคือแบบจำลองหรือเครื่องมือหนึ่งที่จะช่วยให้ครูเห็นว่าพวกเขาจะทำกิจกรรมสืบเสาะกับเด็ก ๆ และจะมีส่วนร่วมกับการสนทนาเกี่ยวกับปรากฏการณ์ทางวิทยาศาสตร์กับเด็ก ๆ ได้อย่างไร วิธีการนี้จะต้องนำด้วยคำถามปลายเปิด อย่างไรก็ตาม ในการสอนแต่ละวัน ผู้สอนไม่จำเป็นต้องทำแบบเดิมทุกครั้งไป
สิ่งที่ต้องมีมาก่อนคือประสบการณ์พื้นฐาน:
ในชีวิตประจำวัน เด็กก็เช่นเดียวกับผู้ใหญ่ พวกเขามักจะค้นพบและทดลองสิ่งใหม่ ๆ อยู่เสมอ เมื่อทำเช่นนี้พวกเขาก็จะได้เพิ่มพูนประสบการณ์พื้นฐานผ่านปรากฏการณ์และวัตถุต่าง ๆ เพื่อที่จะได้พัฒนาไปสู่คำถามและข้อสันนิษฐาน เด็ก ๆ จำเป็นต้องมีประสบการณ์ขั้นพื้นฐานเหล่านี้ก่อน
การถามคำถาม:
รวบรวมความคิดและตั้งข้อสันนิษฐาน:
ทดสอบและปฏิบัติการสืบเสาะ:
สังเกตและบรรยาย:
อภิปรายและสะท้อนคิด:

กระบวนการสืบเสาะไม่จำเป็นต้องทำครบทุกขั้น หรือทำตามลำดับที่กล่าวมาข้างต้น การสังเกตครั้งใหม่มักจะกระตุ้นให้เกิดการสำรวจตรวจสอบใหม่ ๆ ก่อนที่จะเกิดผลลัพธ์สำคัญของคำถามก่อนหน้าหรือเพื่อให้การสำรวจตรวจสอบนั้นมีรายละเอียดมากขึ้น เช่นเดียวกับนักวิทยาศาสตร์ ที่ขั้นตอนในการตั้งคำถาม การตั้งสมมติฐาน การทดลอง การค้นหาผลลัพธ์และการตั้งคำถามเพิ่มจะเกิดขึ้นเป็นวงจรที่ต่อเนื่องกัน
วิสัยทัศน์ด้านการเรียนการสอน
เด็กส่วนใหญ่มักอยากรู้อยากเห็นและสนใจในปรากฏการณ์ทางธรรมชาติอยู่แล้ว ด้วยความช่วยเหลือจาก โครงการ “บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย” ครูผู้สอนเด็กระดับปฐมวัยและคุณครูระดับชั้นประถมศึกษาสามารถพัฒนาความเป็นมืออาชีพ เพื่อเพิ่มความสามารถในการบ่มเพาะความสนใจในธรรมชาติของเด็กในแนวทางที่เหมาะสม

ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติเป็นส่วนหนึ่งของโลกแห่งการค้นหาของเด็ก ๆ ในตอนเช้า เมื่อนาฬิกาปลุกดัง ยาสีฟันแตกฟองขณะที่กำลังแปรงฟัน วิทยุมีเสียงเพลง โกโก้ร้อนมีไอน้ำออกมาจากถ้วย ระหว่างที่เดินทางมาโรงเรียน เด็ก ๆ สังเกตเห็นดอกไม้ที่เมื่อวันก่อนยังคงหุบอยู่ พวกเด็ก ๆ ต้องการที่จะกำโลกของพวกเขาไว้ในมือและเรียนรู้เกี่ยวกับปรากฏการณ์ทางธรรมชาติมากยิ่งขึ้น โอกาสมากมายเหล่านี้ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันของเด็ก ๆ จะทำให้พวกเขาได้เรียนรู้ ข้อสงสัยของพวกเขาจะเป็นสิ่งสำคัญต่อการค้นคว้าและการสืบเสาะ
การเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์
และเทคโนโลยีในช่วงปฐมวัยจะนำไปสู่อะไร
จุดประสงค์หลักของโครงการคือการส่งเสริมให้เด็กมีความกระตือรือร้นที่จะเรียนรู้และบ่มเพาะความสามารถในการแก้ปัญหา อย่างไรก็ตาม เด็ก ๆ ไม่ควรได้เรียนรู้และสร้างคำอธิบายที่ “ถูกต้อง” สำหรับปรากฏการณ์ต่าง ๆ เพียงเท่านั้น พวกเขาควรได้มีส่วนร่วมในกระบวนการค้นคว้าด้วยการสืบเสาะเป็นฐาน ซึ่งสอดคล้องกับวิธีการทางวิทยาศาสตร์ กระบวนการนี้ประกอบด้วย การสังเกต การเปรียบเทียบ และการจำแนกประเภทที่เด็ก ๆ ใช้ในการสำรวจโลกรอบตัว

โครงการมีเป้าหมายที่จะส่งเสริมการมีเจตคติที่ดีต่อวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี ไม่เพียงทำให้การมีส่วนร่วมในกระบวนการสืบเสาะทางวิทยาศาสตร์ กระตุ้นความอยากรู้อยากเห็น และสร้างความกระตือรือร้นที่จะสงสัยต่อปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ เทคโนโลยี แต่ยังบ่มเพาะทักษะการใช้ชีวิตที่เด็ก ๆ จำเป็นต้องมีในระหว่างเส้นทางการเรียนรู้ ตัวอย่างเช่น ทักษะทางภาษา ทักษะทางสังคม และทักษะกล้ามเนื้อมัดเล็ก นอกจากนั้น ยังเสริมสร้างให้เด็ก ๆ รับรู้ความสามารถของตนเองและความเข้มแข็งภายใน
เด็กเล็กจะมีความสามารถในการใช้เหตุผลทางวิทยาศาสตร์หรือไม่
มีการค้นพบทางจิตวิทยาด้านพัฒนาการว่า แม้กระทั่งเด็กก่อนวัยเรียนก็ยังมีความสามารถในการใช้เหตุผลทางวิทยาศาสตร์ พวกเขาสามารถเสนอความคิดและข้อสันนิษฐาน ทดสอบจากการทำกิจกรรมการสืบเสาะของพวกเขา และสร้างข้อสรุปเบื้องต้น การศึกษาในเด็กปฐมวัยจึงตั้งอยู่บนเงื่อนไขที่ดีและบนการพัฒนาความสามารถของเด็ก ๆ
สามารถดาวน์โหลด โครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย 28 โครงการ วัฎจักรสืบเสาะ 6 ขั้นตอน ระดับชั้นอนุบาล – ชั้นประถมศึกษา ตามลิงก์ข้างล่างนี้ครับ
ตัวอย่างไฟล์เอกสาร
