เผยแพร่ผลงานวิชาการ แบบรายงานวิธีการปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) ปีการศึกษา 2567 เรื่อง นักสืบน้อย ย้อนรอยภาษาถิ่น สืบสานภาษาเยอ โดย โรงเรียนบ้านหนองระเวียง สพป.มหาสารคาม เขต 2

ชื่อผลงาน “ นักสืบน้อย ย้อนรอยภาษาถิ่น สืบสานภาษาเยอ ”
ชื่อเจ้าของผลงาน นางสาวภัทรา ทองสุทธิ์ และนางสาวนริศรา ทองดี
หน่วยงาน โรงเรียนบ้านหนองระเวียง
สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 2
- ความสำคัญของผลงานหรือนวัตกรรมที่นำเสนอ
สังคมปัจจุบันเป็นโลกยุคข้อมูลข่าวสาร ความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยี และโลกของตลาด
เสรีที่ผู้คนส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจ การใช้ชีวิตแบบทันสมัยที่มีความเป็น
สากลทั้งภาษา การแต่งกาย อาหารการกิน ภาพยนตร์ ดนตรี เป็นยุคที่ผู้คนส่วนใหญ่หลงใหลกับโลก
ตะวันตก แม้จะมีสไตล์เกาหลีและญี่ปุ่น ซึ่งล้ำหน้าและทันสมัย ยุคที่ผู้คน (ส่วนหนึ่ง) นิยมคนเก่ง คน
ฉลาด ทันสมัย ทันเหตุการณ์ รู้เท่าทันเทคโนโลยี ยุคที่เด็กไทยเห็นและหลงใหลความเป็น “ปัจเจกชน”
มากกว่าจิตสาธารณะ ความคิดของผู้คนในความเป็นสากลยุคโลกาภิวัตน์ส่งผลกระทบต่อ “ค่านิยมความ
เป็นไทย” อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ วัฒนธรรมไทยภูมิปัญญาไทยนับวันยิ่งจะถูกเมินจากเยาวชนมากยิ่งขึ้น
ทุกวันนี้ “ประวัติศาสตร์” สำหรับเยาวชนไทย จึงอาจเป็นเพียงเรื่องราวในอดีตที่เต็มไปด้วย
พ.ศ. สิ่งของเก่าแก่ ผู้คนที่ล้มหายตายไปหมดแล้ว เหตุการณ์ที่ต้องจดจำและจำเรียนเพื่อ “สอบ” ตาม
เกณฑ์ในระบบการศึกษาเท่านั้น แม้ว่าจะมีผู้เรียนบางคนชอบ และสนุกสนานที่จะฟังเกร็ดประวัติศาสตร์
ได้เรียนรู้อดีต มีความภาคภูมิใจในชาติและบรรพบุรุษ แต่อย่างไรก็ตามยังคงมีคำถามเสมอว่าจะเรียน
ประวัติศาสตร์ไปทำไม ประวัติศาสตร์มีประโยชน์อย่างไรในโลกยุคโลกาภิวัตน์ จะใช้ประวัติศาสตร์ไป
ประกอบอาชีพอะไร ที่สำคัญยังมีคำถามที่เป็นความคาดหวังของสังคม “หลักสูตรประวัติศาสตร์ควรเป็น
อย่างไร เยาวชนไทยจึงจะรัก และภาคภูมิใจในความเป็นชาติไทย”
นอกจากการเรียนประวัติศาสตร์จะช่วยให้มนุษย์เรียนรู้อดีตเข้าใจปัจจุบันแล้วยังช่วยให้รู้
รากเหง้าของตนเองเข้าใจและภูมิใจในชาติตนเองเข้าใจในที่มาของชุมชนและสภาพแวดล้อมของชุมชน
ในสังคม ความดีงามของบรรพบุรุษและเป็นบทเรียนที่มีค่าสำหรับเป็นแนวทางปฏิบัติ (สำนัก
คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน) อย่างไรก็ดีแม้ว่าวิชาประวัติศาสตร์จะเป็นวิชาหรือ
ศาสตร์ที่สำคัญแต่ในการประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนพบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชา
ประวัติศาสตร์ลดลงและนักเรียนไม่ให้ความสำคัญในวิชาประวัติศาสตร์
ครูผู้สอนจึงได้นำเอาประวัติศาสตร์ท้องถิ่น เกี่ยวกับประวัติศาสตร์เยอ ไม่ว่าจะเป็นแหล่งเรียนรู้
ในท้องถิ่น การใช้ภาษาในชุมชน รวมทั้งที่มาของประวัติศาสตร์เยอเข้ามาใช้ในการสอนวิชา
ประวัติศาสตร์เพื่อให้นักเรียนได้ตระหนักและให้ความสำคัญกับวิชาประวัติศาสตร์มากขึ้น โดยให้ผู้เรียน
ได้ลงพื้นที่จริงเพื่อศึกษาประวัติศาสตร์เยอและการใช้ภาษาเยอในชุมชน
- จุดประสงค์และเป้าหมายของการดำเนินงาน
2.1 เพื่อพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้เรื่องการศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่น ภาษาถิ่น (ภาษาเยอ)
โดยใช้ชุมชนเป็นฐานการเรียนรู้
2.2 เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนมีทักษะในการศึกษาค้นคว้าเรื่องประวัติศาสตร์ท้องถิ่น ภาษาถิ่น
(สืบสานภาษาเยอ)
2.3 เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนเห็นคุณค่า และเกิดความตระหนักที่จะร่วมกันอนุรักษ์ภาษาถิ่น
ในชุมชน (ภาษาเยอ) สืบต่อไป
สามารถดาวน์โหลด เผยแพร่ผลงานวิชาการ แบบรายงานวิธีการปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) ปีการศึกษา 2567 เรื่อง นักสืบน้อย ย้อนรอยภาษาถิ่น สืบสานภาษาเยอ ตามลิงก์ข้างล่างนี้ครับ
ตัวอย่างไฟล์เอกสาร

