ดาวน์โหลด คู่มือการวิจัยในชั้นเรียน โดย ดร.ไพบูรณ์ เกตวงษา ศึกษานิเทศก์ วิทยฐานะ ศึกษานิเทศก์ชำนาญการพิเศษ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนคร

คู่มือการวิจัยในชั้นเรียน

การปฏิบัติการวิจัยในชั้นเรียนเพื่อพัฒนากระบวนการเรียนการสอนและพัฒนาคุณภาพผู้เรียนเป็นหนึ่งในข้อกำหนดสำคัญที่ระบุไว้ในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 โดยในมาตรา 30 ระบุว่า “ให้สถานศึกษาพัฒนากระบวนการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ รวมทั้งการส่งเสริมให้ครูผู้สอนสามารถวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับผู้เรียนในแต่ละระดับการศึกษา” และ มาตรา 24 (5) ระบุว่า “ส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้สอนสามารถจัดบรรยากาศสภาพแวดล้อม ส่งเสริมการเรียนและอำนวยความสะดวกเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และมีความรอบรู้ รวมทั้งสามารถใช้การวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้ ทั้งนี้ผู้สอนและผู้เรียนอาจเรียนรู้ไปพร้อมกันจากสื่อการเรียนการสอนและ
แหล่งวิทยาการประเภทต่าง ๆ” ดังนั้นจึงถือได้ว่าแนวทางพัฒนาการศึกษาด้วยกระบวนการวิจัยที่กำหนดในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติฉบับนี้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนของครูด้วยกระบวนการวิจัยของครูเพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาการปฏิบัติงานไปพร้อมกัน
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนคร มีหน้าที่ในการส่งเสริมสนับสนุนการจัดการศึกษาของสถานศึกษาในสังกัด จึงมีความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาครูให้มีทักษะและความสามารถการดำเนินการวิจัย จึงได้ดำเนินการพัฒนาคู่มือวิจัยในชั้นเรียน สำหรับครูผู้วิจัย ซึ่งคู่มือนี้ผ่านกระบวนการพัฒนาของคณะผู้เชี่ยวชาญระดับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาแล้ว จึงถือได้ว่าสามารถนำไปใช้เป็นกรอบหรือแนวทางในการปฏิบัติการวิจัยในชั้นเรียนของครูได้อย่างเป็นระบบและเป็นขั้นตอน คู่มือการวิจัยในชั้นเรียน สำหรับครูผู้วิจัย ฉบับนี้นอกจากจะเหมาะสมสำหรับครูผู้สอนในระดับเริ่มต้นที่ต้องการปฏิบัติการวิจัยในชั้นเรียนด้วยตนเองแล้วยังเหมาะสำหรับผู้ที่สนใจทั่วไป ซึ่งมีเนื้อหาสาระที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินงานวิจัย เช่น ความหมาย ความมุ่งหมาย ความสำคัญ ประเภท และประโยชน์ของการดำเนินการวิจัยในชั้นเรียน รวมทั้งนำเสนอขั้นตอนหรือกระบวนการวิจัยในชั้นเรียนเช่น ขั้นตอนที่ 1 การวิเคราะห์สภาพปัญหาการเรียนการสอนในชั้นเรียน ขั้นตอนที่ 2 การกำหนดแนวทางวิธีการแก้ไขปัญหา ขั้นตอนที่ 3 วิธีการดำเนินการวิจัย/วิธีการแก้ไขปัญหา และขั้นตอนที่ 4 การสรุปผลและเขียนรายงานผลการวิจัย เป็นต้น

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ในมาตรา 30 ระบุว่า “ให้สถานศึกษาพัฒนากระบวนการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ รวมทั้งการส่งเสริมให้ครูผู้สอนสามารถวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับผู้เรียนในแต่ละระดับการศึกษา” และ มาตรา 24 (5) ระบุว่า “ส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้สอนสามารถจัดบรรยากาศ สภาพแวดล้อม ส่งเสริมการเรียนและอำนวยความสะดวกเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และมีความรอบรู้ รวมทั้งสามารถใช้การวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้ทั้งนี้ผู้สอนและผู้เรียนอาจเรียนรู้ไปพร้อมกันจากสื่อการเรียนการสอนและแหล่งวิทยาการประเภทต่าง ๆ” ดังนั้นจึงถือได้ว่าการพัฒนากระบวนการวิจัยของครูที่ได้กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ
พ.ศ. 2542 ฉบับนี้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาครูด้วยกระบวนการวิจัย พร้อมกับใช้เป็นแนวทางพัฒนาการจัดการเรียนการสอนของครูไปพร้อม ๆ กัน
แผนการจัดการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 – 2579 เป็นแผนยุทธศาสตร์ชาติด้านการศึกษาระยะยาว ซึ่งมุ่งจัดการศึกษาให้คนไทยทุกคนให้สามารถเข้าถึงโอกาสและความเสมอภาคในการศึกษาที่มีคุณภาพ พัฒนาระบบการบริหารจัดการศึกษาที่มีประสิทธิภาพ พัฒนากำลังคนให้มีสมรรถนะในการทำงานที่สอดคล้องกับความต้องการของตลาดงาน และ พัฒนาประเทศเพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาได้นำไปเป็นกรอบและแนวทางการพัฒนาการศึกษาและการเรียนรู้สำหรับพลเมืองทุกช่วงวัยตั้งแต่แรกเกิดจนตลอดชีวิต ยุทธศาสตร์ของการผลิตและการพัฒนากำลังคนมีความจำเป็นที่จะต้องใช้กระบวนการวิจัยและนวัตกรรมในการสร้างและพัฒนาให้เกิดขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, 2565) นอกจากนี้ หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ได้กำหนดให้ครูผู้สอนต้องรู้จักการผู้เรียนเป็นรายบุคคล ต้องประเมินสถานภาพของผู้เรียน ครูซึ่งเป็นบุคคลที่มีหน้าที่หลักในการจัดการเรียนการสอนให้เป็นไปตามมาตรฐานการศึกษา ให้ผู้เรียนได้รับการพัฒนาให้มีความรู้ความสามารถเต็มตามศักยภาพของบุคคล ให้มีความสามารถในการพัฒนานวัตกรรมและสื่อเทคโนโลยีที่ทันสมัยเพื่อนำมาปรับใช้ในการเรียนรู้ที่เหมาะสมตามวัย พัฒนาการและความถนัดของผู้เรียนอย่างมีประสิทธิภาพ และในฐานะที่ครูมีบทบาทที่สำคัญอีกประการหนึ่ง คือ ครูต้องเป็นนักวิจัย ซึ่งหมายถึงการที่ครูต้องมีความสามารถใช้งานวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้เพื่อพัฒนาและปรับปรุงแก้ไขปัญหาการเรียนรู้ของผู้เรียนได้ จึงเห็นได้อย่างชัดเจนว่า การวิจัยในชั้นเรียนมีความสำคัญต่อการพัฒนางานสอนของครูทุกระดับชั้น เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อนักเรียน ต่อการจัดการศึกษาและเป็นกระบวนการที่สำคัญในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้มีคุณภาพที่เป็นรากฐานของการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของชุมชน สังคม ประเทศไทยและสังคมโลกในอนาคต (กระทรวงศึกษาธิการ, 2551)
การวิจัยในชั้นเรียนเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะช่วยให้ครูพัฒนาการจัดการเรียนการสอนได้ และสามารถนำไปใช้ปรับปรุงแก้ไขวิธีการเรียนของนักเรียนแต่ละคน แต่ละกลุ่มหรือชั้นเรียน ปรับปรุงวิธีการสอนและการวัดผลการเรียนของครูให้เหมาะสมกับตัวนักเรียนและวิชาที่สอน ตลอดจนใช้ในการจัดสภาพแวดล้อมของห้องเรียน ให้เหมาะสมกับการเรียนการสอน โดยทั่วไปแล้วการทำวิจัยในชั้นเรียนเป็นเรื่องที่ค่อนข้างง่ายเมื่อเทียบกับงานวิจัยอื่น ๆ เพราะมีขอบเขตการวิจัยค่อนข้างแคบ ทั้งในด้านเนื้อหาพื้นที่และเวลา ซึ่งงานวิจัยในชั้นเรียนส่วนใหญ่หรือทั้งหมดมักจะทำไปพร้อม ๆ กับการเรียนการสอนเฉพาะในห้องเรียนที่ครูกำลังสอนอยู่ ดังนั้นระเบียบวิธีวิจัยที่เกี่ยวกับการแผนงานวิจัย การเก็บรวบรวมข้อมูล และการวิเคราะห์ข้อมูล จึงไม่ยุ่งยากซับซ้อน ครูทุกคนจึงสามารถทำวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนได้
โดยใช้รูปแบบรายงานการวิจัยที่เป็นมาตรฐานสากล ประกอบด้วย 1) ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา 2) วัตถุประสงค์ของการวิจัย 3) วิธีดำเนินการวิจัย 4) ผลการวิจัย และ 5) สรุป อภิปรายผลและข้อเสนอแนะ (สรชัย พิศาลบุตร, 2559) นอกจากนี้การทำวิจัยในชั้นเรียนยังเป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยในการพัฒนาวิชาชีพครู เนื่องจากให้ข้อค้นพบที่ได้มาจากกระบวนการสืบค้นที่เป็นระบบและเชื่อถือได้ ทำให้ผู้เรียนเกิดการพัฒนาการเรียนรู้และครูเกิดการพัฒนากระบวนการการจัดการเรียนการสอน และยังเป็นการพัฒนาผู้ที่มีส่วนร่วม นำไปสู่การพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพและด้วยหลักการสำคัญของการวิจัยปฏิบัติการที่เน้นการสะท้อนผล ทำให้การวิจัยแบบนี้ส่งเสริมบรรยากาศของการทำงานแบบประชาธิปไตยที่ทุกฝ่ายเกิดการแลกเปลี่ยนประสบการณ์และยอมรับในข้อค้นพบร่วมกัน (สุวิมล ว่องวาณิช, 2566)
จากสภาพเหตุผลและความจำเป็นดังได้กล่าวไว้ข้างต้น สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนคร จึงได้จัดทำคู่มือการวิจัยในชั้นเรียน สำหรับครูผู้วิจัย เพื่อเป็นคู่มือในการพัฒนาครูให้มีทักษะในการทำวิจัยในชั้นเรียน และสามารถนำผลการวิจัยไปใช้แก้ไขปัญหาและพัฒนาการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน เข้าใจและตระหนักในความสำคัญของกระบวนการวิจัยและมีความรู้ความเข้าใจและตระหนักตลอดเวลาให้อยู่เป็นในจิตวิญญาณความเป็นครู รวมทั้งต้องปฏิบัติการวิจัยในชั้นเรียนอย่างสม่ำเสมอเพื่อพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้ด้วยการวิจัยที่มีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 หมวด 4 มาตรา 24 ข้อ 5 และมาตรา 30 ที่กำหนดให้สถานศึกษามีหน้าที่สนับสนุนและส่งเสริมให้ครูทำวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ มาตรา 24 (5) กล่าวว่าส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้สอนสามารถจัดบรรยากาศ สภาพแวดล้อม สื่อการสอน และสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และมีความรอบรู้ รวมทั้งสามารถใช้การวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้ ทั้งนี้ผู้สอนและผู้เรียนอาจเรียนรู้ไปพร้อมกันจากสื่อการเรียนการสอนและแหล่งวิทยาการประเภทต่าง ๆ และ มาตรา 30 ให้สถานศึกษาพัฒนากระบวนการเรียนการสอนที่มี
ประสิทธิภาพ ส่งเสริมผู้สอนให้สามารถวิจัยพัฒนาการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับผู้เรียนแต่ละระดับการศึกษา

โดยสามารถดาวน์โหลดไฟล์เอกสารได้ ตามลิงก์ข้างล่างนี้ครับ

ตัวอย่างไฟล์เอกสาร

คู่มือการวิจัยในชั้นเรียน
คู่มือการวิจัยในชั้นเรียน

ขอบคุณแหล่งที่มา : สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนคร

By admin

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

ห้ามพลาด