เปลี่ยนมุมมองการศึกษา : เมื่อโรงเรียนกลายเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้

วันนี้โพสต์ข่าวสาร มีหนังสือ E-book : โรงเรียนเป็นชุมชนการเรียนรู้ มาฝากเพื่อนครู เพื่อนำไปศึกษา และนำความรู้ที่ได้จากศึกษาจากหนังสือเล่มนี้ ไปใช้ในการออกแบบในการจัดการเรียนรู้ให้กับนักเรียน และเป็นแรงผลักดันในการเปลี่ยนแปลงระบบการศึกษา และทำให้เกิดการพัฒนาต่อไป
“ร่วมสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้: บทบาทของโรงเรียนในชุมชน”
คำว่า “โรงเรียนเป็นชุมชนการเรียนรู้” หมายถึงการที่โรงเรียนไม่เพียงแค่เป็นสถานที่ให้ความรู้และการศึกษาในเชิงวิชาการเท่านั้น แต่ยังเป็นศูนย์กลางของการเรียนรู้ที่ผู้คนในโรงเรียน ทั้งครู นักเรียน ผู้ปกครอง และชุมชนโดยรอบ ได้มีโอกาสเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน
การที่โรงเรียนเป็นชุมชนการเรียนรู้หมายความว่า:
- การมีส่วนร่วมของทุกฝ่าย: ทุกคนในโรงเรียนมีบทบาทในการส่งเสริมการเรียนรู้ ไม่ว่าจะเป็นครูที่เป็นผู้นำการเรียนการสอน นักเรียนที่เป็นผู้เรียนรู้ หรือผู้ปกครองและชุมชนที่สนับสนุนการศึกษา
- การเรียนรู้ที่เป็นมากกว่าห้องเรียน: การเรียนรู้เกิดขึ้นทุกที่ทุกเวลา ไม่จำกัดอยู่แค่ในห้องเรียน แต่เกิดขึ้นจากประสบการณ์ต่าง ๆ ทั้งในโรงเรียนและในชีวิตประจำวัน
- การสร้างสังคมที่มีคุณค่า: โรงเรียนส่งเสริมให้ผู้เรียนพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม และความรับผิดชอบต่อสังคม ผ่านการเรียนรู้ร่วมกันและการทำกิจกรรมต่าง ๆ
แนวคิดนี้ช่วยส่งเสริมการสร้างสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมการเรียนรู้ที่ต่อเนื่องและครบถ้วนในทุกด้านของชีวิต
ความสำคัญของโรงเรียนในการเป็นชุมชนในการเรียนรู้
โรงเรียนเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ ถือเป็นหัวใจของการปฏิรูปการศึกษา เพราะการที่หลายๆภาคส่วนมาช่วยกันในการผลักดันและร่วมกันในการปฏิรูปการศึกษา ถือเป็นหัวใจหลักที่สำคัญ และประโยชน์สูงสุดย่อมเกิดที่ตัวนักเรียน
อย่างไรก็ตาม หากโรงเรียนจะสร้างชุมชนการเรียนรู้ให้สำเร็จนั้นทุกคนต้องอดทนสููงและก้าวข้ามการเรียนรู้ 3 ระยะ ได้แก่
1.ระยะเริ่มต้นการเปลี่ยนแปลง ซึ่งอาจมีความเห็นที่แตกต่างกันหรือต่อต้านจากครูและผู้ปกครอง
2. ระยะเปลี่ยนแปลงและรู้สึกท้อแท้ใจ ซึ่งผู้บริหารและครูต้องมุ่งมั่นที่จะผ่านระยะนี้ไปให้ได้
3. ระยะการยอมรับและเปลี่ยนแปลง เนื่องจากมีผลลัพธ์ทางบวกที่ปรากฎขึ้นในตัวของนักเรียน ซึ่งการเปลี่ยนแปลงนั้นแต่ละโรงเรียนจะมีการเปลี่ยนมากน้อยที่แตกต่างกัน
ประโยชน์ที่สำคัญของชุมชนวิชาชีพพื้นฐาน
1. ความภาคภุมิใจในวิชาชีพครู ที่เป็นส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนให้โรงเรียนเกิดการเปลี่ยนแปลง
2. ความรับผิดชอบร่วมกันต่อการเรียนรู้ของนักเรียน หัวใจสำคัญของการเปลี่ยนแปลง คือ เปลี่ยนการเรียนรู้จากฟังมาเป็นการลงมือปฏิบัติ โดยใช้กระบวนการ Active leaning
สามารถดาวน์โหลด ไฟล์เอกสาร หนังสือ E-book : โรงเรียนเป็นชุมชนการเรียนรู้ ตามลิงก์ด้านล่างนี้ ได้เลยครับ
ตัวอย่างไฟล์เอกสาร

